วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สไปโนซอรัส

สไปโนซอรัส (อังกฤษSpinosaurus) มีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีแผง ถูกค้นพบครั้งแรกในทะเลทรายสะฮาร่าของอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ. 1910 โดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวบาวาเรีย นาม เอิร์ล สโตรเมอร์ โดยขุดค้นไปตามชายขอบด้านตะวันออกของระบบแม่น้ำโบราณซึ่งมีหินในชั้นแคมเบรียนก่อตัวเป็นพรมแดนด้านตะวันตก สไปโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อที่เดิน 4 ขาเป็นหลัก ส่วนอาหารนั้นส่วนมากจะเป็นปลา สไปโนซอรัสนั้นมีจุดเด่น คือกระดูกสันหลังสูงเป็นแผ่นคล้ายใบเรือ รูปวงรี มี11ชิ้น ชิ้นที่ยาวที่สุดมีความยาว 1.69 เมตร เชื่อกันว่าใช้ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากถูกค้นพบฟอสซิลในอียิปต์จึงได้สันนิษฐานเช่นนั้น กะโหลกศรีษระมีจะงอยปากแคบที่เต็มไปด้วยฟันรูปกรวย มีหงอนคู่ขนาดเล็กอยู่เหนือดวงตา แขนแข็งแกร่งมี 3นิ้ว สามารถใช้เป็นอาวุธและจับเหยื่อได้ มีความสูง 3 เมตรถ้าเดิน 4 ขา ถ้ายืน 2 ขาจะสูง 3.9-4เมตร มีความยาว 15-18 เมตร โดบฟอสซิลที่สมบูรณ์ที่สุดยาว 15เมตร (ส่วนกะโหลก ยาว 1.75 ม.) น้ำหนัก 23ตัน อาศัยอยู่ใน ทวีปแอฟริกา มีชีวิตอยู่ในตอนกลางของยุคครีเตเชียส (100-97 ล้านปีที่แล้ว) ในช่วงที่มันอาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลาง มันมีคู่แข่งที่สำคัญอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่อาศัยอยู่ยุคเดียวกันที่มีความยาว 13.8เมตรและเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ2ของโลก สไปโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ1ในโลก , มันมีญาติอย่าง ซูโคไมมัส บารีออนนิกซ์ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สไปโนซอรัส

วิลอซิแรปเตอร์

วิลอซิแรปเตอร์ (อังกฤษvelociraptor) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ฉลาดและว่องไว อยู่ในวงศ์โดรเมโอซอร์ (Dromaeosauridae) มีการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนหมาป่า อาวุธคือเล็บเท้าแหลมคมเหมือนใบมีดที่พับเก็บได้และฟันที่คมกริบ เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกช่วงประมาณ 83-70 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียสตอนปลาย มีหลักฐานพบเป็นฟอสซิลในบริเวณเอเชียกลาง (เคยมีการค้นพบฟอสซิลว่าต่อสู้กับโปรโตเซอราทอปส์ด้วย)มันยังถูกเข้าใจว่าคือ ไดโนนีคัส ของเอเชีย จึงแยกประเภทใหม่เพราะมันมีรูปร่างคล้ายกันและไดโนนีคัส ยังถูกเข้าใจผิดว่าคือ วิลอซิแรปเตอร์ ของอเมริกาผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิลอซิแรปเตอร์

โทรโอดอน

โทรโอดอน (Troodon หรือ Troödon) เป็น ไดโนเสาร์ กินเนื้อที่จัดว่าเป็นไดโนเสาร์ทีมีความฉลาดมากที่สุด ไดโนเสาร์โทรโอดอนเป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ใน ช่วงครีเตเชียสตอนปลาย พบได้ ในประเทศอเมริกาและคานาดา ไดโนเสาร์โทรโอดอนจัดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กกว่า ไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะโครงสร้างที่บอบบาง ลำตัวมีความยาวประมาณ 1.8 เมตร ข้างกะโหลกศีรษะของมัน ค่อนข้างแตกต่างจากไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะบริเวณด้านหลังและด้านข้างของจมูก จะมีโครงกระดูกแหลมโผล่ออกมา ฟันมีลักษณะแหลมและเป็นซี่เล็ก ๆ ตาโต ทำให้สามารถ มองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ดี มีนิ้วมือสำหรับตะครุบ (Troodon หรือ Troödon) เป็น ไดโนเสาร์ กินเนื้อที่จัดว่าเป็นไดโนเสาร์ทีมีความฉลาดมากที่สุด ไดโนเสาร์โทรโอดอนเป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ใน ช่วงครีเตเชียสตอนปลาย พบได้ ในประเทศอเมริกาและคานาดา ไดโนเสาร์โทรโอดอนจัดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กกว่า ไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะโครงสร้างที่บอบบาง ลำตัวมีความยาวประมาณ 1.8 เมตร ข้างกะโหลกศีรษะของมัน ค่อนข้างแตกต่างจากไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะบริเวณด้านหลังและด้านข้างของจมูก จะมีโครงกระดูกแหลมโผล่ออกมา ฟันมีลักษณะแหลมและเป็นซี่เล็ก ๆ ตาโต ทำให้สามารถ มองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ดี มีนิ้วมือสำหรับตะครุบผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โทรโอดอน

เมก้าแร็ปเตอร์

เมก้าแร็ปเตอร์ (อังกฤษMegaraptorฟอสซิลของมันค้นพบครั้งแรกที่อาร์เจนตินา โดยนายโนวาส เมื่อปีค.ศ.1998 มีชื่อเต็มว่า เมก้าแร็ปเตอร์ นามันฮัวอิคิวอิ (Megaraptor namunhuaiquii) ซึ่งมีความหมายว่าหัวขโมยขนาดยักษ์ อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย เมื่อประมาณ 98 ล้านปีก่อน เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ประมาณรถเมล์ มีความยาวระหว่าง 6-8 เมตร สูงจากพื้นถึงหัว 4 เมตร แต่ก็เคยพบขนาดใหญ่ที่สุดยาว 9 เมตร มีเล็บที่มือยาวถึง 15 นิ้ว ซึ่งอาจจะยาวที่สุดในไดโนเสาร์ทั้งหมด คาดว่ามีไว้ล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างอมาร์กาซอรัส หรืออาร์เจนติโนซอรัส ในช่วงแรกมันถูกจัดอยู่ในพวกแร็พเตอร์โดรเมโอซอร์ เนื่องจากค้นพบฟอสซิลเพียงชิ้นเดียวคือกรงเล็บรูปร่างโค้งคล้ายเคียวขนาดใหญ่ของมัน แต่ทว่าเรื่องจริงก็ถูกเปิดเผย จากการค้นพบฟอสซิลเพิ่มเติม นักบรรพชีวินพบว่าแท้จริงแล้วกรงเล็บนั้นไม่ได้อยู่บนนิ้วเท้าแบบของพวกโดรมีโอซอร์ แต่กลับอยู่บนมือ ทำให้เมก้าแรพเตอร์เปลี่ยนสถานะไปในทันที ปัจจุบัน เมก้าแรพเตอร์มีวงศ์ย่อยเป็นของมันเองคือ Megaraptora ซึ่งจะประกอบไปด้วยเทอโรพอดแปลกประหลาดอีกหลายตัว เช่น อีโอไทแรนนัส ออสตราโลเวเนเทอร์ ฯ ส่วนวงศ์ใหญ่ที่คลุม Megaraptora อีกทีนั้นยังไม่แน่ชัด บ้างก็ว่าเป็น Tyrannosauroid บ้างก็ว่าเป็น Allosauroid หรือ Spinosauroid ไปเลยก็มีผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมก้าแร็ปเตอร์

ซีโลไฟซิส

ซีโลไฟซิส (อังกฤษCoelophysis) เป็นไดโนเสาร์มีความสามารถในการวิ่งอย่างรวดเร็ว เพราะกระดูกของซีโลไฟซิสนั้นกลวง ซีโลไฟซิสยาวประมาณ 3.2 เมตร อาหารของพวกซีโลไฟซิสคือซากสัตว์ที่ตายแล้ว กิ้งก่าและแมลง แต่บางครั้งเมื่อหน้าแล้งมาถึงซึ่งเป็นช่วงหาอาหารลำบาก ซีโลไฟซิสจึงกินพวกเดียวกันด้วย ฟอสซิลของซีโลไฟซิสพบที่รัฐนิวเม็กซิโก ซีโลไฟซิสอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย เคยมีการพบฟอสซิลของซีโลไฟซิส 1,000 ตัวที่ทุ่งปีศาจ จึงกล่าวว่าซีโลไฟซิสอาจจะอยู่เป็นฝูง แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนค้านว่าซีโลไฟซิสไมได้อยู่เป็นฝูง เพียงแต่ตายในที่เดียวกันเท่านั้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซีโลไฟซิส

คาร์โนทอรัส

คาร์โนทอรัส (อังกฤษCarnotaurus) ค้นพบที่ทุ่งราบปาตาโกเนียของอาร์เจนตินา มีเขาอยู่บนหัว 2 เขา เป็นลักษณะที่พิเศษของคาร์โนทอรัส และมีขาหน้าที่สั้นมากเมื่อเทียบกับเทอโรพอดชนิดอื่นๆ ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ากระทิง ขนาดประมาณ 7.5 เมตร หนักประมาณ 2 ตัน ซึ่งถือว่าเบาเมื่อเทียบกับขนาดตัว ซึ่งทำให้มันเป็นไดโนเสาร์ที่ปราดเปรียวและว่องไวอีกชนิด อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 75-80 ล้านปีก่อนผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คาร์โนทอรัส

พลาทีโอซอรัส

พลาทีโอซอรัส (อังกฤษPlateosaurus) เป็นไดโนเสาร์โปรซอโรพอดของยุคไทรแอสซิก ขนาด 7.8 เมตร อยู่กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร พบที่ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ เมื่อหน้าแล้งมาถึงมันจะอพยพ มันสามารถเดินได้ทั้ง 4 ขาและ 2 ขา เวลากินอาหารบนต้นไม้จะยืนด้วย 2 ขา แต่เวลาเดินหรือกินอาหารที่อยู่บนพื่นอย่างหญ้า มันก็จะเดิน 4 ขา พบในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย-ยุคจูแรสซิกตอนต้นผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พลาทีโอซอรัส

สยามโมดอน นิ่มงามมิ

สยามโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon nimngami)[1] เป็นไดโนเสาร์ ออร์นิโธพอด กลุ่มที่เรียกว่า อิกัวโนดอนเทีย (Iguanodontia) พบชิ้นส่วนกระดูกขากรรไกรบนด้านซ้าย (PRC-4), ฟันจากขากรรไกรบนเดี่ยวๆ 1 ซี่ (PRC-5), และกระดูกส่วนสมองด้านท้ายทอย (PRC-6) จากแหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยผู้ที่พบคือ นายวิทยา นิ่มงาม[2] พบฟันและกระดูกไดโนเสาร์ ในหินกรวดมนปนปูน หมวดหินโคกกรวด ยุคครีตาเชียสตอนต้น มีอายุประมาณ 125 - 113 ล้านปีมาแล้ว
สยามโมดอน นิ่มงามมิ มีลักษณะของกระดูกขากรรไกรบนเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ที่มียอดสามเหลี่ยมไม่สูงนัก ซึ่งมีความยาวทางด้านหน้าสามเหลี่ยม กับด้านหลังสามเหลี่ยมเกือบเท่าๆ กัน คือมีความยาวของขากรรไกรบน 230 มิลลิเมตร และมีความสูง 100 มิลลิเมตร , มีส่วนโป่งของพื้นผิวด้านในของขากรรไกรบน เป็นแนวยาวที่เด่นชัด , มีฟันของขากรรไกรบน ประมาณ 25 ซี่ ซึ่งมีสันอยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟันจำนวน 1 สันที่เด่นชัดมาก และบางทีอาจมีสันเล็กๆ บางๆ อยู่ด้านข้างของสันใหญ่ อีก 1 สัน หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ , ความยาวของฟันประมาณ 25 - 28 มิลลิเมตร และความกว้างของฟันประมาณ 14 - 17 มิลลิเมตร
สยามโมดอน แตกต่างจากไดโนเสาร์พวกอิกัวโนดอนเทียแรกเริ่ม (basal iguanodontia) เช่น ไดโนเสาร์วงศ์ อิกัวโนดอน (Iguanodontids) ตรงที่มีลักษณะของ "ฟัน" ของขากรรไกรบน ที่ไม่เหมือนกัน โดยไดโนเสาร์วงศ์อิกัวโนดอน จะมีสันฟันไม่ได้อยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟัน และยังมีสันฟันเล็กๆ อยู่ด้านข้างอยู่อีกหลายๆ สัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของส่วนยอดของขากรรไกรบน จะอยู่ในตำแหน่งที่คล้อยไปทางด้านหลังอีกด้วย
สยามโมดอน แตกต่างจากไดโนเสาร์ วงศ์ฮาโดรซอร์ (Hadrosaurids) ตรงที่บริเวณการประสานต่อกัน ของกระดูกโหนกแก้ม (jugal) กับกระดูกขากรรไกรบน โดยมีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้ม (jugal process) มีลักษณะเป็น "แถบแบน" ในขณะที่ไดโนเสาร์วงศ์ฮาโดรซอร์ จะมีลักษณะการขยายทางส่วนหน้าของกระดูกโหนกแก้ม และ อยู่เหลื่อมกันบริเวณรอยต่อของกระดูกขากรรไกรบนผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สยามโมดอน นิ่มงามมิ

ไซส์โมซอรัส

ไซส์โมซอรัส (อังกฤษSeismosaurus) เป็นอดีตสกุลไดโนเสาร์ซอโรพอดที่มีความยาวประมาณ 30-35 เมตร และหนักถึง 60 ตัน มีความหมายว่ากิ้งก่าแห่งแผ่นดินไหว เพราะเวลาเดินจะทำให้พื้นสั่นเหมือนแผ่นดินไหว กินพืชเป็นอาหาร รักสงบ อาศัยอยู่ในจูแรสซิกตอนปลาย ค้นพบโดยกิลต์เลตต์ เมื่อปีค.ศ.1991 รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา แต่ในปัจจุบัน ได้มีการค้นพบว่าไซส์โมซอรัสนั้น แท้จริงแล้วคือชนิดหนึ่งของสกุลดิปโพลโดคัสผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไซส์โมซอรัส

สเตโกซอรัส

สเตโกซอรัส (Stegosaurus) สเตโกซอรัส (กิ้งก่ามีหลังคา) เป็นไดโนเสาร์กินพืชจำพวกสะโพกนก (Ornithischia) ที่มีเกราะป้องกันตัวจำพวกแรกๆ
มีลักษณะโดดเด่น มีขาหน้าสั้น และปากเล็ก มีแผ่นเกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหางแผ่นเกล็ดนี้มีไว้ขู่ศัตรูโดดสูบฉีดเลือดไปที่เกล็ด ซึ่งสันนิษฐานว่ามันมีเส้นเลือดเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ และแผ่นกระดูกนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับป้องกันตัว แต่มีไว้เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้มันยังหนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคนั้นได้ดี อย่าง อัลโลซอรัส
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สเตโกซอรัส